น้ำประปา หรือ น้ำก๊อก คือ น้ำที่ไหลออกมาจากก๊อกน้ำ เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในปัจจุบัน น้ำประปาผลิตมาจากน้ำดิบ สูบเข้าไปยังถังพักตกตะกอน และผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงเพิ่มแรงดันและส่งไปยังท่อน้ำต่างๆในบ้านของผู้ใช้น้ำ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง มีพระราชดำริว่า กรุงเทพฯ น่าจะมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลขึ้น และจัดตั้งกรมสุขาภิบาลด้วย และได้ว่าจ้างช่างผู้ชำนาญการประปาจากฝรั่งเศส ชื่อ นายเดอลาม โฮเตียร์ และ นายแวนเดอไฮเด มาวางแผนการผลิตน้ำประปาซึ่งเขาได้เสนอความคิดหลายแนวทาง เช่น ควรนำน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยามาทำน้ำประปา เพราะสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ความคิดของทั้งสองคนนี้มีข้อขัดแย้งกันหลายอย่าง ต้องพิจารณากันกลายครั้ง ในที่สุด กระทรวงเกษตราธิการ ที่มีหน้าที่จัดการทดน้ำเพื่อการเพาะปลูก ก็เห็นชอบให้แมื่อน้ำจากแม่น้ำมาผลิต มีการผลิตน้ำสะอาดขึ้นแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียก Water Supply ว่า “ ปรฺปา “ จากคำภาษาสันสกฤต (หรือ ปฺปา ในภาษาบาลี)
ประวัติของการบัญญัติศัพท์คำว่า การประปา นั้น จริง ๆ เคยจำ พระนามผู้บัญญัติได้ แต่นึกไม่ออก สับสนอยู่ว่าเป็นพระองค์ในสองพระองค์(นี่คือข้อเสียของคนแก่ อะไรที่คิดว่าจำได้ แล้วดันไม่จดเอาไว้ พอถึงเวลาจะใช้ดันนึกไม่ออก) ได้พยายามค้นคว้าต่อตามที่สัญญาไว้ก้หาไม่เจอ พบแค่ว่าในยุคแรกก่อนที่จะบัญญัติคำว่าประปาขึ้นใช้ มีการใช้คำอยู ๒ คำ คือ
การหาน้ำบริโภค (วอเตอร์เวิร์ค) กับ การหาน้ำใช้ (วอร์เตอร์สับไปล(weter supply)) และค้นพบข้อความที่เกี่ยวข้องจาก “รายงานการประปาสำหรับกรุงเทพมหานคร ของเจ้าพระยายมราช กราบบังคมทูล พระกรุณา” กับอีกแห่งหนึ่ง ใน “ประกาศการสร้างประปา” ข้อความตรงกันว่า
” กิจการอย่างนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกตามภาษาสันสกฤต เพื่อให้เป็นคำสั้นว่า “การประปา”
น้ำประปามี การเติม สารเคมี ที่เรียกว่า คลอรีน เพื่อฆ่า เชื้อโรค น้ำประปาสามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้
ค่าน้ำประปา
อัตราค่าน้ำประปาในประเทศไทย ของการประปานครหลวง จะคำนวณตามหน่วยของน้ำที่ใช้ โดย 1 หน่วย = 1,000 ลิตร โดยแต่ละเดือน ตัวเลขในมาตรวัดน้ำจะถูกจด โดยเศษของหน่วยจะถูกตัดทิ้ง แต่จะสมทบไปในการคิดค่าน้ำเดือนถัดไป เช่น เดือนแรก ใช้ 2.7 หน่วย (2,700 ลิตร) ค่าน้ำเดือนแรกจะคิด 2 หน่วย อีก 0.7 หน่วย จะทดในเดือนถัดไป เช่นเดือนที่สอง ใช้ 2.5 หน่วย (2,500 ลิตร) ค่าน้ำจะคิด 2.5 + 0.7 = 3.2 หน่วย คิดค่าน้ำ 3 หน่วย อีก 0.2 ทดไปเดือนถัดไป เป็นต้น
– ค่าน้ำตามจำนวนหน่วยที่ใช้ ในส่วนนี้ จะแบ่งการคิดคำนวณออกเป็น 2 ส่วน คือ R1 สำหรับเคหสถานประเภทที่อยู่อาศัย และ R2 สำหรับเคหสถานประเภทธุรกิจ ราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และอื่นๆ
– ค่าน้ำดิบ คิดในอัตราคงตัว หน่วยละ 0.15 บาท
– ค่าบริการรายเดือน คิดตามขนาดมาตรวัดน้ำ โดยจะมีขนาดมาตรวัดน้ำ 11 ขนาด ซึ่งขนาดที่เล็กลง จะทำให้น้ำไหลเข้าถังน้ำช้าลง แต่ค่าบริการรายเดือนจะถูกลงด้วย การเลือกขนาดมาตรวัดน้ำจึงควรเลือกให้เหมาะสม หากเลือกขนาดมาตรใหญ่เกินไป จะเป็นการเสียค่าบริการมากเกินไปโดยใช่เหตุ แต่ถ้าเล็กเกินไป น้ำอาจไหลเข้าถังน้ำน้อยกว่าความต้องการของอาคารได้ ค่าบริการรายเดือนของมาตรแต่ละขนาด
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม คำนวณจาก ค่าใช้จ่ายใน 3 ส่วนแรก รวมกัน แล้วคูณด้วย 0.07