บริษัท เสาเข็มเจาะ วัดเพลง
ดินทรุดจะใช้บริการเสาเข็มเจาะได้หรือไม่
อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าปัญหาดินอ่อนในเมืองหลวงของเราอย่างกรุงเทพฯ นั้น เป็นปัญหาที่พบได้โดยทั่วไป การทรุดตัวของอาคารบ้านเรือนต่างๆ จึงเกิดให้เห็นอยู่บ่อยๆ ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะดิน หรือเหิกขึ้นเพราะการใช้หลักวิศกรที่ผิดวิธี…จะแก้ปัญหาได้อย่างไร หรือรอให้บ้านทรุดแล้วค่อยหาทางแก้ไข
ช่างเข็มเจาะ
รับเจาะเสาเข็มเจาะ
รับทำเสาเข็มเจาะ
รับทำเข็มเจาะ
เข็มเจาะ
บริษัท เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะ ราคาถูก
บริษัท เจาะเสาเข็ม
รับเจาะ เสาเข็ม
บริษัทรับเจาะเสาเข็ม
เจาะเสาเข็ม
เสาเข็มแบบเจาะ
เสาเข็มเจาะแห้ง
งานเข็มเจาะ
แบบเสาเข็มเจาะ
เข็มตอกเข็มเจาะ
บริษัทเสาเข็มเจาะ
งานเจาะเสาเข็ม
เสาเข็มเจาะ ราคาถูก
จริงๆ แล้วบ้านชั้นเดียวในบริเวณดินอ่อนหรือดินทรุดตัวที่สร้างในเขตกรุงเทพฯ ตามหลักแล้วควรใช้ขนาดเข็มสั้นที่ยาวประมาณ 12-16 เมตร จะสามารถรับน้ำหนักได้โดยมีการทรุดตัวบ้างเล็กน้อย ทางเลือกนี้จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่มีข้อแม้ว่าะยะเสาไม่ควรจะมีความห่างกันมากๆ ต้องคำนึงถึงระยะเสาด้วย ส่วนบ้านสองชั้น น่าจะใช้เสาเข็มยาว 21 เมตรซึ่งจะได้การทรุดตัวน้อยกว่า แต่ปัญหาที่พบหากใช้เข็มยาวจะเกิดแรงสั่นสะเทือนต่อพื้นที่ข้างเคียงมาก ก็ต้องดูความเหมาะสมเอา หลีกเลี่ยงได้โดยการใช้เข็มเจาะ
ดินทรุดจะใช้บริการเข็มเจาะได้หรือไม่…ในกรณีที่ต้องการน้ำหนักลงเข็มมาก แต่ไม่สามารถตอกเข็มได้ก็สามารถใช้เข็มเจาะได้ แต่อาจพบกับปัญหาที่ตามมาคือคุณภาพงานไม่ดีเท่ากับเสาเข็มตอก อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ในขั้นตอนต่างๆ จึงควรต้องระวังเป็นอย่างมาก และควรมีวิศวกรควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด
สรุปสำหรับการก่อสร้างบริเวณที่มีดินในเขตกรุงเทพฯ แนวทางเบื้องต้นคือบริเวณที่ราบ ฐานรากบ้านไม่ควรลึกมากให้ระดับบนของฐานรากอยู่ใต้ระดับดินประมาณ 50 ซม ส่วนบริเวณที่ดินลาดเอียง หรือใกล้ริมน้ำไม่สามารถกำหนดระยะตายตัวได้ต้องให้วิศวกรดูสภาพพื้นที่อีกทีเพื่อความปลอดภัย
เสาเข็มเจาะ มีราคาเท่าไหร่
หากพูดถึงราคาของเสาเข็มแบบเจาะ หลายคนจะทราบดีอยู่แล้วว่าเสาเข็มประเภทนี้มีราคาที่แพงกว่าเสาเข็มแบบตอกมากพอสมควร เนื่องจากผู้รับเหมาหรือผู้ที่มีความชำนาญต้องเป็นผู้หล่อเสาเข็มขึ้นมาใหม่เอง ทำให้ต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณที่มากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นเจ้าของอาคารหลายท่านก็เลือกที่จะใช้เสาเข็มแบบเจาะนี้มากกว่าเสาเข็มแบบตอก ถึงแม้ว่าสถานที่ก่อสร้างจะไม่ได้อยู่ในเขตชุมชนหรือใกล้กับบ้านเรือนทั่วไปก็ตาม
ในส่วนของราคานั้น อาจไม่สามารถระบุลงไปได้อย่างชัดเจนว่าเสาเข็มแบบเจาะนี้มีราคาเท่าไหร่ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดให้ราคาของเสาเข็มแบบเจาะในแต่ละที่มีราคาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดของเหล็ก การใช้ปูนสำเร็จหรือการโม่เอง จำนวนเสาที่ทำการขุดเจาะและหล่อ รวมทั้งพื้นที่ในบริเวณนั้นมีความยากง่ายในการขุดเจาะมากแค่ไหน ทั้งหมดนี้คือตัวกำหนดราคาของเสาเข็มแบบเจาะแทบทั้งสิ้น นอกจากนี้แล้วสิ่งที่ทำให้ราคาของเสาเข็มแบบเจาะยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น คือความแข็งแรงและมาตรฐานที่เจ้าของอาคารต้องการเสริมให้กับตัวอาคาร โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดของเหล็กและโครงเหล็ก รวมทั้งขนาดของเสาที่สั่งทำพิเศษให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เสาเข็มแบบเจาะมีราคาที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย
เพราะฉะนั้นหากเจ้าของอาคารมีงบประมาณที่จำกัด ก็อาจต้องปรึกษากับผู้รับเหมาหรือผู้ที่รับขุดเจาะ เพื่อให้ช่วยประเมินราคาและเลือกวัสดุคือเหล็กและปูน รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดที่ยังคงทำให้อาคารมีความแข็งแรงและได้มาตรฐา
เสาเข็ม (Pile Foundations) มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติเด่น และวิธีการนำไปใช้งานอย่างไร
Type : Construction Material (วัสดุก่อสร้าง)
Catagory : เสาเข็ม (Pile Foundations)
Summary Product Data : ข้อมูลที่น่าสนใจของเสาเข็ม
เสาเข็มถือเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของอาคาร โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่พื้นดิน โดยถ่ายน้ำหนักจากหลังคา ,พื้น ,คาน,เสา,ตอม่อและฐานราก ลงไปสู่ชั้นดินตามลำดับ
จากบันทึกพบว่าแนวความคิดในการก่อสร้างด้วยเสาเข็ม เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 6,000 ปีก่อน ในยุคที่เรียกว่า “Swiss Lake Dwellers” ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน ผู้คนในยุคนั้นใช้เสาเข็มที่ทำมาจากไม้ ในการสร้างกระโจมที่พักอาศัย โดยยกระดับความสูงจากพื้นเพิ่มขั้นเพื่อป้องกันตัวเองจากสัตว์ป่า
ในยุคถัดมาชาวโรมันได้ใช้เสาเข็มที่ทำมาจากไม้ และหินในการก่อสร้างจำนวนมาก อาทิเช่น ที่พักอาศัย วิหาร และสะพาน
ในปี ค.ศ. 1832 กระบวนการเก็บรักษาสภาพของไม้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ โดยการฉีดสารเคมีเข้าไปในไม้ นี่เป็นช่วงเวลาที่เสาเข็มไม้ได้รับการพัฒนามากขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย
หลังจากที่ใช้เสาเข็มไม้มานาน หลังยุค ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา จึงเริ่มมีการพัฒนาจากเสาเข็มไม้ เป็นเสาเข็มปูนเพิ่มมากขึ้น และเมื่อถึงยุคอุตสาหกรรม ระบบฐานรากเสาเข็มได้ถูกพัฒนาต่อยอดแตกแขนงออกมาอีกหลากหลายประเภท ตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีการพัฒนากระบวนการผลิตเสาเข็มที่เป็นระบบ และมีความทันสมัย มาอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน
Raw material : วัสดุ และส่วนประกอบหลักของเสาเข็ม แบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้
เสาเข็มไม้ (Timber Pile)
เป็นเสาเข็มที่หาได้ง่าย มีน้าหนักเบา ราคาถูก และขนส่งสะดวก แต่มีความสามารถรับน้ำหนักค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องตอกเป็นกลุ่ม ส่งผลให้มีฐานรากมีขนาดใหญ่ ควรตอกให้ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการผุกร่อนจากปลวก และเห็ดรา ปัจจุบันนิยมใช้เสาเข็มไม้สน และยูคาลิปตัส ตามท้องตลาดจะระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้วและความยาวเป็นเมตร เหมาะกับการนำไปใช้กับสิ่งปลูกสร้างที่มีขนาดเล็ก
เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Pile)
เป็นเสาเข็มหล่อในโรงงาน ที่ต้องออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงพอ เพื่อรับโมเมนต์ดัด จากการเคลื่อนย้าย และการตอก ปัจจุบันไม่นิยมมากนักเนื่องจากไม่ประหยัด จึงนิยมใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงแทน
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Pile)
เป็นเสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงแล้วเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กำลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง จึงทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ซึ่งช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของเสาเข็มได้ดีกว่าแบบอื่นๆ โดยรูปแบบเสาเข็มประเภทนี้ที่นิยมนำไปใช้งานมากก็คือ
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงชนิดพิเศษที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความทนทานสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวงมักใช้เป็นเสาเข็มเจาะเสียบ (Auger press pile)
ช่างเข็มเจาะ
รับเจาะเสาเข็มเจาะ
รับทำเสาเข็มเจาะ
รับทำเข็มเจาะ
เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-place Concrete Pile)
หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงจากการสั่นสะเทือนน้อยที่สุด สามารถทำความลึกได้มากกว่าเสาเข็มตอก และสามารถควบคุมตำแหน่งได้ดีกว่า แต่มีราคาสูงกว่าในกรณีรับน้ำหนักเท่ากัน
เสาเข็มเหล็ก (Steel Pile)
เป็นเสาเข็มที่ทำจากเหล็กทั้งท่อน มีความสามารถในการรับน้าหนักได้สูงกว่าเสาเข็มคอนกรีตและไม้ แต่มีราคาแพง ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเคลือบกันสนิมที่ซึมลงไปในเนื้อเหล็ก ติดตั้งได้เร็ว ไม่มีผลกระทบทางเสียง แรงสั่นสะเทือนน้อย สามารถถอน และเคลื่อนย้ายได้ง่าย นิยมใช้กับงานโครงสร้างชั่วคราวที่ต้องรับน้าหนักมากแต่ต้องทำการรื้อถอนในภายหลัง
เข็มเหล็ก ผู้นำนวัตกรรมด้านฐานราก โดยพลิกโฉมระบบฐานรากของเมืองไทยและภาคพื้นเอเชีย ให้การก่อสร้างระบบฐานรากเป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้แม่นยำ ทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
เสาเข็มประกอบ (Composite Pile) เป็นเสาเข็มที่ประกอบด้วยวัสดุสองชนิดในต้นเดียวกัน จุดสำคัญของเสาเข็มชนิดนี้คือรอยต่อต้องแข็งแรง ทนทาน และสามารถถ่ายน้ำหนักจากท่อนบนสู่ท่อนล่างได้เป็นอย่างดี
***ข้อมูลอ้างอิงโดย https://civil.kku.ac.th
Specific Data : ข้อมูลจำเพาะของเสาเข็ม (Pile Foundations)
– Content : เนื้อหา
เสาเข็ม (Pile Foundations)
– Environmental Effect : คุณสมบัติเด่นเฉพาะตัว
เสาเข็มถือเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของอาคาร โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการถ่ายเทน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่พื้นดิน โดยถ่ายน้ำหนักจากหลังคา ,พื้น ,คาน,เสา,ตอม่อและฐานราก ลงไปสู่ชั้นดินตามลำดับ
การถ่ายเทน้ำหนักของเสาเข็มมี 2 ลักษณะ คือ เสาเข็มสั้น หรือ เสาเข็มที่รับน้ำหนักโดยใช้แรงเสียดทาน ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักตัวอาคารกับชั้นดินโดยใช้แรงเสียดทานในการช่วยรับน้ำหนัก และเสาเข็มยาว คือ เสาเข็มที่ถ่ายน้ำหนักตัวอาคาร ผ่านชั้นดินอ่อนไปยังชั้นดินที่มีความแข็งเพื่อรับน้ำหนักเสาเข็มโดยตรง
– Application : ประเภทการนำไปใช้งาน
การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามรูปแบบการก่อสร้าง
เสาเข็มตอก (Driven Pile)
คือการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกที่ต้องการ เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากวิธีการก่อสร้างไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ในปัจจุบันมีปัญหาในการก่อสร้างในพื้นที่ ที่มีอาคารรอบข้าง เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนในการตอกและการเคลื่อนตัวของดินที่ถูกแทนที่ด้วยเสาเข็ม เนื่องจากการตอกเสาเข็มมักกระทำโดยผู้รับจ้างซึ่งไม่ใช่วิศวกรจึงมีความเสี่ยงที่จะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งการควบคุมการตอกควรจะต้องกระทำโดยวิศวกรผู้รับผิดชอบโครงการนั้นจึงจะเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย
เสาเข็มเจาะหล่อในที่ (Bored Pile)
คือเสาเข็มที่ก่อสร้างโดยหล่อคอนกรีตลงไปในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมไว้ล่วงหน้าให้เต็ม เป็นวิธีก่อสร้างที่ช่วยแก้ปัญหาที่พบจากการใช้เสาเข็มตอก ทั้งการขนย้ายเสาเข็มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง การรบกวนอาคารรอบข้างเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนจากการตอก รวมทั้งการควบคุมตำแหน่ง และแนวของเสาเข็ม การเจาะอาจกระทำโดยกระบวนการแห้ง (Dry Process) คือการเจาะโดยไม่ต้องใช้น้ำช่วยในกรณีที่ดินข้างหลุมเจาะมีเสถียรภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( Small Diameter Bored Pile )ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ( ส่วนใหญ่จะเป็น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร
แต่ถ้าหากดินข้างหลุมเจาะพังทลาย จำเป็นต้องใส่น้ำผสมสารเบนโทไนท์หรือโพลิเมอร์ลงไปในหลุมเพื่อช่วยพยุงดินข้างหลุม เรียกว่ากระบวนการเปียก (Wet Process) ส่วนใหญ่จะเป็นเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( Large Diameter Bored Pile ) ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ( ส่วนใหญ่จะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร
สาหรับการเจาะดินนั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเจาะแบบหมุน (Rotary Type ) แบบขุด (Excavation Type ) และการเจาะแบบทุ้งกระแทก (Percussion Type ) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เหมาะกับการก่อสร้างขนาดเล็กในพื้นที่แคบ การควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างมีส่วนที่สาคัญคือ การกำหนดตำแหน่งของเสาเข็ม การควบคุมแนวการเจาะให้ได้แนวดิ่ง ความสะอาด และเรียบร้อยของหลุมเจาะ การติดตั้งเหล็กเสริม และการเทคอนกรีต หากการก่อสร้างเสาเข็มเจาะกระทำโดยบริษัทที่ดีและมีประสบการณ์ วิศวกรของบริษัทจะเป็นผู้ควบคุมดูแลคุณภาพของเสาเข็มเจาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เสาเข็มเจาะเสียบ (Auger Press Pile)
เป็นการใช้เสาเข็มสำเร็จรูป ติดตั้งโดยการเจาะดินให้เป็นรูขนาดเล็กกว่าขนาดเสาเข็มเล็กน้อยแล้วกดเสาเข็มลงไปในรู เป็นการแก้ปัญหาการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนตัวของดิน วิธีนี้สามารถใช้การตอกแทนการกดได้ซึ่งนอกจากจะลดปัญหาการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนตัวของดินแล้ว ยังช่วยในกรณีที่ต้องตอกเสาเข็มผ่านชั้นดินที่แข็งแรงมากๆ จึงนิยมใช้เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดซึ่งมีรูกลวงตรงกลาง โดยในระหว่างที่กดเสาเข็มลงไปนั้น สว่านที่ใส่อยู่ในรูเสาเข็มก็จะหมุน เพื่อนำดินขึ้นมา เมื่อกดเสาเข็มพร้อมกับเจาะดินจนเสาเข็มจมลงใกล้ระดับที่ต้องการก็หยุดกด ดึงดอกสว่านออกแล้วตอกด้วยลูกตุ้มจนได้ระดับที่ต้องการ
***ข้อมูลอ้างอิงโดย https://civil.kku.ac.th
– Forewarning : ข้อควรระวังในการใช้งาน
ในงานฐานรากเสาเข็มบางประเภท เช่น เสาเข็มตอก อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง และแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเข็ม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่รอบๆ รวมถึงตัวอาคารข้างเคียงที่อาจจะเกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นในการดำเนินงานในส่วนฐานรากสำเข็ม ควรมีมาตรการในการป้องกันที่ดี และดำเนินงานอย่างเคร่งครัดตามหลักทางวิศวกรรม และกฏหมาย
– Size : ขนาด
ขนาดของเสาเข็มแต่ละประเภทจะมีขนาดที่หลากหลาย โดยจะแตกต่างกันไปตามประเภทวัสดุส่วนประกอบ และประเภทการใช้งานตามความเหมาะสมกับอาคารแต่ละแบบ ซึ่งการเลือกใช้ขนาด หรือ ประเภทของเสาเข็มที่เหมาะสมกับตัวอาคาร จะต้องได้รับการคำนวณจากสถาปนิก และวิศวกรอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงจะให้ความมั่นคงปลอดภัยในการนำไปใช้งาน
ช่างเข็มเจาะวัดเพลง
ช่างเข็มเจาะจอมประทัด
ช่างเข็มเจาะวัดเพลง
ช่างเข็มเจาะเกาะศาลพระ
STD Serve ช่างเข็มเจาะ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับเสาเข็มเจาะ ซ่อมแซม ออกเสาเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัยโดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัย เสาเข็มโดยทั่วไปแยกสำคัญ 2 ประเภทกว้างๆ คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ รับเสาเข็มเจาะ ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา STD Serve ช่างเข็มเจาะ
– ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานช่างเข็มเจาะ มากกว่า 20 ปี
– เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
– รับซ่อมแซมงานช่างเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ
– ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
– ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
– บริการคุณภาพด้วย STD House ช่างเข็มเจาะ