3. วิธีการติดตั้งระบบโซลาร์ (Solar)
โดยส่วนใหญ่แล้วบริการติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ของแบรนด์ทั่วๆ ไป มักจะเจาะกระเบื้องหลังคาเพื่อยึดแผงโซลาร์ (Solar) เข้ากับผืนหลังคาของบ้านหลังนั้นๆ แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีการดังกล่าว ส่งผลเสียทำให้หลังคาเสี่ยงรั่วเป็นอย่างมาก แทนที่จะผลิตไฟฟ้าเพื่อลดค่าไฟได้อย่างสบายใจ กลับกลายเป็นปัญหาหลังคารั่วให้เจ้าของบ้านปวดหัวมากกว่าเดิม
การติดตั้งระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่เจาะกระเบื้องหลังคา ซึ่งวิธีการที่ SCG เลือกใช้จะเป็นการใช้กระเบื้อง Solar FIX (จดสิทธิบัตรเฉพาะ SCG เท่านั้น) ดำเนินการโดยถอดกระเบื้องแผ่นเดิมออกแล้วแทนที่ด้วย Solar FIX ทำให้สามารถติดตั้งโซลาร์ (Solar) บนหลังคาได้อย่างไม่เสี่ยงรั่ว
นอกจากเรื่องวิธีการติดตั้งระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ที่ไม่ก่อให้เกิดการเสี่ยงรั่วแล้ว ก่อนหน้าที่จะดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์ (Solar) ทาง SCG ยังมีบริการ Roof Health Check เป็นการตรวจสภาพหลังคาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนติดตั้งโซลาร์ (Solar) เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคา, ปัญหารั่วเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้า ซึ่งหากพบปัญหาจะแนะนำ รวมถึงมีบริการในการซ่อม-ปรับปรุงหลังคาให้อยู่ในสภาพดีก่อนที่จะติดตั้งโซลาร์ (Solar) อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้หลังคาอยู่คู่กับระบบโซลาร์ (Solar) ได้ตลอดอายุการใช้งาน
4. การขออนุญาตจากภาครัฐ
ก่อนการติดตั้งหลังคาโซลาร์ (Solar) เจ้าของบ้านต้องดำเนินการการขออนุญาตจากภาครัฐถึง 3 หน่วยงาน คือ1) เขต หรือ เทศบาล 2) MEA หรือ PEA 3) คณะกรรมการกองกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งความยุ่งยากในกระบวนการเหล่านี้ ทาง SCG บริการให้ทั้งหมด
5.การรับประกันและบริการหลังการขาย
ในส่วนของการรับประกัน และบริการหลังการขาย หลายๆ แบรนด์มักจะเอามาเป็นจุดขายว่ารับประกันกว่า 20 ปี แต่เราจะเชื่อใจได้หรือไม่ว่า ภายใน 20 ปีนั้นบริษัทฯ ดังกล่าวจะยังให้บริการเราดีดังเดิมต่อไป
ในส่วนของ SCG Solar Roof Solutions เจ้าของบ้านหมดกังวลและปัญหากวนใจของบริการหลังการขายได้เลย เพราะเป็นบริษัทฯ ที่มีความน่าเชื่อถือจะจะอยู่คู่บ้านของคุณไปอีกยาวนาน หากเกิดปัญหาอะไรเจ้าของบ้านก็สามารถติดต่อได้อยู่เสมอ
ศทางแสงแดด – ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ที่มีอยู่ก็เหมือนไร้ค่าในทันที ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าทิศทางเหมาะสมที่สุดเป็นทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เป็นทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ที่ได้ปริมาณแสงแรงสุด แต่ทิศทางตรงนั้นก็ต้องไม่มีวัตถุใดๆ มาบดบังแสงด้วย รวมถึงองศาความลาดชันควรประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ให้มากที่สุด
ตำแหน่งการติดตั้งแผง – ปกติแล้วหลายๆ บ้านก็นิยมติดอยู่บนหลังคา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีสุดในการกระทบกับแสงอาทิตย์ แต่ทางที่ดีควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโครงหลังคาเสียก่อน ว่าสามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ นอกจากนี้หากต้องการไฟฟ้าให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีควรเผื่อพื้นที่ว่างไว้ในพื้นที่ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 20 % ของพื้นที่ที่จะติดตั้ง
ใครๆ ก็บอกติดตั้งโซลาร์เซลล์คุ้มอยู่แล้วในระยะยาว แต่เราต้องมาคำนึงถึงการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อนว่าควรติดตั้งเท่าไหร่ดีจึงจะพอดีกับการใช้งานในครัวเรือน ซึ่งเรามาเริ่มต้นคำนวณค่าไฟกันก่อน ตามขั้นตอนตามนี้
การคำนวณค่าไฟเราจะคำนวณจากหน่วยไฟฟ้าเป็น ‘กิโลวัตต์’ ซึ่งขนาดแผงโซลาร์เซลล์ สมมติว่า ‘1 แผง มีขนาดเท่ากับ 120*60 เซนติเมตร มีพื้นที่เท่ากับ 0.72 ตร.ม. มีกำลังผลิตแผงละ 102 วัตต์’ ดังนั้นหากต้องการผลิตให้ได้ 1 กิโลวัตต์ ต้องใช้ 10 แผงในการติดตั้ง กินพื้นที่บนหลังคาเท่ากับ 7.2 ตร.ม.
จากนั้นมาดูปริมาณการใช้งานไฟฟ้าในแต่ละเดือนของเราว่าใช้เดือนละกี่หน่วย(KW-h) สมมติ ถ้าใช้เดือนละ 2,000 หน่วย (เสียค่าไฟฟ้าประมาณเดือน 10,000 บาท)
ให้จดเลขมิเตอร์ 2 ครั้งใน 1 วัน ในช่วงเช้าเวลาประมาณ 9.00 น. และเย็น 17.00 น. ทั้งหมด 4 วัน แล้วนำมาลบกันก็จะได้ค่าจำนวนหน่วยที่ใช้ในเวลากลางวัน จากนั้นนำหน่วยทั้งหมดที่ได้มาหาร 4 ยกตัวอย่างเช่น 55+40+50+45 = 190/4 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันประมาณ 47.5 หน่วย
ใน 1 วันมีแสงอาทิตย์ประมาณ 5 ชม. เราก็ต้องนำ 47.5 หน่วย หาร 5 ได้เท่ากับ 9.5 กิโลวัตต์ ดังนั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ประมาณ 10 กิโลวัตต์จึงจะเหมาะสมและคุ้มทุนที่สุด โดยจำนวนแผงที่จะติดตั้งต้องดูตามปริมาณวัตต์ต่อ 1 แผง
คำนวณจุดคุ้มทุนอย่างละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.solarhub.co.th/solar-solutions/residential-solar/331-2016-04-16-15-50-18
ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมกับค่าใช้จ่ายอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องนำมาใช้ในการติดตั้งทั้ง สายไฟฟ้า / ท่อร้อยสาย / กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ / AC Breaker / Combiner Box และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งรวมแล้วจะประมาณ 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพที่ใช้งาน แต่ถ้าถามว่าคุ้มไหม? ต้องลองคำนวณในแบบข้างกับผลระยะยาว เพราะบ้านเป็นสิ่งที่จะอยู่กับเราไปอีกนานครับ