ปูนปั้นสำเร็จรูปทีพีไอเป็น ปูนปั้นสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและ ดีต่อโลก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ในปัจจุบัน โดยการลดการทำลายมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2)จากการผลิต โดยเน้นแผนการผลิตที่ไม่ให้ก่อผลต่อสภาวะแวดล้อมและ ขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน รวมทั้งยังมีการรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้เพื่อช่วยในการประหยัดทรัพยากรณ์ธรรมชาติเพื่อให้ใช้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมถึงโครงการปลูกป่าทดแทนธรรมชาติเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี สร้างบรรยากาศที่ดีต่อประชาชน
ดังนั้นผลิตภัณฑ์ปูนปั้นสำเร็จรูปทีพีไอจึงเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ที่ได้มาตรฐานที่ดีจึงได้รับฉลากคาร์บอนเป็นรายเดียวในประเทศไทย เป็นรายแรก
ประเภทการใช้งาน
-ใช้ปั้่นรูปทรงต่างๆ
-ใช้ปั้นลวดลายสำหรับตกแต่งบริเวณต่างๆ เพื่อความสวยงาม
-ปั้นง่าย สะดวก แข็งแรงทนทานได้ตุณภาพ
-ใช้งานได้ง่าย เพียงผสมน้ำแล้วปั้นตามต้องการ
วิธีผสมปูนแบบโบราณ
วิธีผสมปูนแบบโบราณนี้ ข้าพเจ้าขนานศรีเลา เกษพรหม ได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง คือ
จากคำบอกเล่าของ พ่อหนานคำ สมสุข และ พ่อหนานจัน พรชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสองเมือง ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว ในอดีตท่านทั้ง 2 เป็นพระภิกษุที่ชำนาญในด้านการก่อสร้างถาวรวัตถุในวัด การก่อสร้างหลายอย่างที่บางครั้งทางวัดได้จ้างช่างมาจากจังหวัดลำพูน ท่านทั้ง 2 ก็ได้ช่วยช่างเหล่านั้นทำการก่อสร้างด้วย ดังนั้นช่างจากลำพูนจึงได้ถ่ายทอดวิชาการช่าง ตลอดถึงกรรมวิธีของส่วนผสมวัสดุ โดยเฉพาะการผสมปูนตามสูตรโบราณให้
จากบทความของพระครูวิจิตรการโกศล เขียนเรื่อง “ปูนโขลก” ในนิตยสารศิลปากร (25.5) กรุงเทพฯ 2524 หน้า 20-28
จากการบันทึกของช่างอย่างไม่เป็นระบบ ในสมุดพับหนังสาของล้านนา
หวังว่าท่านที่มีความสนใจจะได้นำไปศึกษาและเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ ต่อไป
มาตราส่วนในการผสมปูนก่อและฉาบ
อุปกรณ์และส่วนผสม
ปูนขาวที่เผาแล้วออกจากเตาใหม่ๆ 9 ส่วน
ทรายร่อนละเอียด 5 ส่วน (กรณีใช้ก่ออิฐ ถ้าใช้ฉาบ ลดลงเหลือ 3-4 ส่วน)
น้ำต้มหนังควาย
น้ำต้มเปลือกไม้ไก๋ (?)
น้ำอ้อยที่เคี่ยวแล้ว (ได้ที่เรียกกันว่า “น้ำอ้อยแกว้ง” ยิ่งดี)
วิธีหมักและการผสม
นำผงปูนขาวที่ได้จากเผาผาปูน ใส่ในถังที่จะหมัก หรือใส่ในหลุมที่เตรียมไว้ ขนาดของหลุมขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ใช้ จากนั้นใส่น้ำต้มเปลือกไก๋ น้ำต้มหนังควายลงไป แล้วคนให้เข้ากัน โดยกะว่าให้เหลวพอสมควรหรือให้น้ำท่วมปูน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จึงใส่น้ำอ้อยแล้วคนให้ทั่ว จากนั้นต้องกวนทุก 7 วัน ระยะเวลาในการแช่หมัก อย่างน้อยต้อง 1 เดือนขึ้นไปจึงจะใช้ได้ดี ยิ่งใช้เวลาในการหมักนานก็ยิ่งดี
1.สูตรผสมปูนสำหรับก่ออิฐ
ปูนที่หมักกับส่วนผสมไว้แล้ว 9 ส่วน
ทรายหยาบล้างน้ำ 5 ส่วน
2. สูตรผสมปูนสำหรับฉาบ
ปูนขาว 7 ตวง
ทราย 7 ตวง
น้ำอ้อย 1 ตวง
น้ำมันยาง 1 ตวง
น้ำต้มเปลือกไม้ไก๋ ตามสมควร
น้ำต้มไม้ประดู่ ตามสมควร
นำวัสดุทั้งหมดผสมให้เข้ากันแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เมื่อต้องการใช้ให้นำปูนผสมที่ตากแห้ง 4 ตวง ผงปูนขาว 2 ตวง นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ร่อนด้วยผ้าขาวบาง แล้วจึงนำไปผสมกับส่วนผสมต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง ได้แก่
ผงปูน 3 ตวง
น้ำมันยาง ครึ่งตวง
น้ำอ้อย ครึ่งตวง
น้ำต้มหนังควาย 3 ตวง
น้ำต้มเปลือกไก๋ ตามสมควร
ผสมทุกอย่างลงไปแล้วคนให้เข้ากัน ถ้าต้องการให้เนื้อปูนมีสีดำให้ใส่ผงมินหม้อ (เขม่าก้นหม้อ) ถ้าต้องการจะให้มีสีแดงให้ใส่ดินแดง ถ้าต้องการให้เป็นสีเหลืองให้ใส่หรดาล ถ้าให้เป็นสีเขียวให้ใส่ขี้สนิมทองเหลืองหรือทองแดง ถ้าต้องการให้เป็นสีมุ่ย (เทา) ให้ใส่น้ำคราม จากนั้นจึงนำไปโบกฉาบตามความต้องการ ปูนจะเกาะตัวกันไม่กะเทาะออกโดยง่าย ถึงแม้อิฐข้างในจะผุไป ปูนนี้ก็จะยังเกาะกันอยู่
มาตราส่วนผสมปูนปั้น
สูตรที่ 1
ปูนขาวที่หมักกับส่วนผสมต่างๆ ที่ใช้สำหรับการก่อฉาบ นำไปตากแห้งแล้วตำด้วยครก ตักออกร่อนให้ละเอียด 4 ส่วน
ทรายร่อนละเอียด 1 ส่วน
กระดาษสาแช่น้ำให้เปื่อย
น้ำอ้อย
เอาทรายร่อนและกระดาษสาที่แช่น้ำให้เปื่อยแล้วใส่ครกตำ ถ้าใช้ปริมาณมากใช้ครกตำข้าว (ครกมอง) ตำทรายและกระดาษสาให้เข้ากัน แล้วใส่ปูนขาวร่อนตามส่วน ตำให้เข้ากันแล้วจึงใส่น้ำอ้อยพอสมควร ตำไปเรื่อยๆ จนเหนียวนิ่มให้ปั้นได้ เก็บใส่กระป๋องสำหรับใช้ปั้นลวดลายต่างๆ ตามต้องการ