บริษัท จัดงานศพ บ้านนา

บริษัท จัดงานศพ บ้านนา

บริษัท จัดงานศพ

งานฌาปนกิจ คืออะไร?
หลายคนคงจะเคยได้ยินคำนี้ในพิธีศพกันมาบ่อยครั้ง แต่อาจจะยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าจริงๆ แล้ว ฌาปนกิจ คือส่วนใดในพิธีศพ และมีความสำคัญอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจไปว่า ฌาปนกิจ คือการจัดพิธีศพ แต่จริงๆ แล้ว  ฌาปนกิจ ตามความหมายของรากศัพท์ที่แท้จริงคือ การทำให้มอดไหม้ หรือในภาษาพูดก็คือ การเผาศพนั่นเอง 
ไขข้อสงสัย ระหว่างคำว่า “ฌาปนกิจ” กับ “ฌาปนกิจศพ” ควรใช้คำไหนกันแน่?
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าระหว่างคำว่า “ฌาปนกิจ” กับ “ฌาปนกิจศพ” ควรใช้คำไหนกันแน่ จริงๆ แล้ว  ฌาปนกิจ เป็นคำที่ใช้อย่างแพร่หลายในการทำพิธีศพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคำว่า “ศพ” มาต่อท้าย เพราะฌาปนกิจ มีความหมายตรงตัวอยู่แล้วว่าคือ การเผาศพ  แต่ก็ยังมีหลายๆ พิธีศพ ที่ยังคงใช้คำว่า ฌาปนกิจศพอยู่
 
ความสำคัญของงานฌาปนกิจ
ด้วยความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่น จากอดีตจนถึงปัจจุบันที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ทำให้งานฌาปนกิจ กลายเป็นประเพณีพื้นฐานของการทำพิธีศพ โดย ความสำคัญของงานฌาปนกิจนั้นเกิดขึ้นจากความเชื่อตามหลักศาสนาพุทธ โดยสามารถแบ่งออกเป็นความเชื่อต่างๆ ได้ดังนี้
 
 
 
1. ศาสนาพุทธให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณมากกว่าร่างกาย เมื่อร่างกายดับสลายไปแล้ว ไม่เหลือประโยชน์อันใดอีก จึงจำเป็นต้องเผาให้เป็นธาตุดิน เหลือทิ้งไว้เพียงคุณงามความดีที่อยู่เบื้องหลังผู้ตาย
บริษัทรับจัดงานศพ
รับจัดงานศพ
จัดงานศพ
ออแกไนซ์ งานศพ
บริษัทรับจัดงานศพ
รับจัดดอกไม้ งานศพ
บริษัท จัดงานศพ
เตรียมงานศพ
จัดเมรุ
จัดสวน หน้าหีบ
พิธีจัด งานศพ
ตกแต่ง เมรุ
จัดหน้าศพ
ดอกงานศพ
จัดสวน หน้าศพ
ตกแต่งงาน ศพ
จัดดอกไม้ งานศพ
จัดดอกไม้ หน้าเมรุ
รับจัดดอกไม้ งานศพ
จัดดอกไม้ สดงานศพ
จัดเมรุ ดอกไม้สด
2. ศาสนาพุทธสอนให้คนยึดถือความดีมากกว่าตัวตน การเผาสลายร่างกายให้เป็นเถ้าธุลี จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้คนรอบข้างผู้ตาย ได้ระลึกถึงคุณความดีนั้นไว้ เพื่อเสริมสร้างบุญบารมีให้มากขึ้น
 
 
3. ศาสนาพุทธสอนให้เรารู้จักปล่อยวางในสิ่งที่ไม่เที่ยง ดังเช่น ร่างกายและสังขาร เมื่อเกิดแก่เจ็บตาย ร่างกายก็เป็นสิ่งที่ต้องละทิ้ง การฌาปนกิจจึงเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้คนรู้จักปล่อยวางในสิ่งต่างๆ ที่ไม่เที่ยงแท้
 
 
 
4. การเก็บศพเอาไว้นั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ หากเรารักษาศพของคนที่รักเอาไว้ จิตใจของเราก็จะยังคงห่วงหาอาวรณ์ไม่เลิกรา ทำให้ติดอยู่ในบ่วงแห่งความโศกเศร้า การจัดฌาปนกิจ จึงเป็นหนทางในการที่ทำให้ผู้สูญเสียได้ระลึกถึงความไม่เที่ยงแท้ และได้พิจารณาชีวิตที่แท้จริงว่าทุกสิ่งไม่จีรังและยั่งยืน
5. งานฌาปนกิจทำให้เกิดบุญบารมีของผู้ที่ยังมีชีวิตด้วยการเสริมสร้างบุญกุศลให้กับผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความดีให้กับตัวผู้ที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ก่อนที่จะละสังขาร
 
 
 
6. นอกจากประเทศไทยแล้ว ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธ, ฮินดู และพราหมณ์ ก็มีความเชื่อในการประกอบพิธีฌาปนกิจด้วย เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลี เป็นต้น
 
ขั้นตอนของพิธีศพและการฌาปนกิจตามแบบคนไทย
ตามความเชื่อของพุทธศาสนา  การจัดฌาปนกิจนั้น จะเกิดขึ้นในช่วงท้ายสุดของพิธีศพ  ซึ่งผู้จัดพิธีศพส่วนใหญ่จะจัดการขั้นตอนต่างๆ ในการทำพิธีศพดังนี้
 
 
 
1. การชำระล้างร่างกายศพ
ถือเป็นขั้นตอนแรกก่อนการนำศพไปประกอบพิธี ผู้เกี่ยวข้องหรือญาติของผู้ล่วงลับ จะต้องชำระล้างร่างกายของศพด้วยน้ำสะอาด ด้วยความเชื่อที่ว่าน้ำสะอาดจะสามารถพาดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี ด้วยความสะอาดและบริสุทธิ์
 
 
 
ซึ่งในสมัยก่อน น้ำที่นำมาอาบชำระล้างร่างกายของผู้ล่วงลับนั้น มักเป็นน้ำที่ต้มจนเดือด แล้วผสมด้วยน้ำเย็น พร้อมด้วยขมิ้นผสมมะกรูดเพื่อนำมาขัดล้างร่างกายของผู้ล่วงลับ ซึ่งถือเป็นการแสดงออกความเคารพรักในหมู่ญาติพี่น้องต่อตัวผู้จากไป อีกทั้งยังเป็นการขัดชำระร่างกายให้ผู้ล่วงลับหมดสิ้นซึ่งบาปกรรมที่ทำเอาไว้ในชาติภพนี้
 
 
2. การหวีผม-แต่งกายให้กับศพ
ขั้นตอนต่อมาก็คือ การหวีผมให้กับผู้ล่วงลับ ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันออกไปในการหวีแต่ละครั้ง โดยครั้งแรกให้หวีจากหน้าไปหลัง ซึ่งแสดงออกถึงการระลึกถึงอดีตและคุณงามความดีของผู้ล่วงลับตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งจากโลกนี้ไป
 
 
 
ครั้งต่อมาให้หวีจากหลังไปหน้า ด้วยความเชื่อว่าจะสามารถกำหนดจุดหมายของผู้ล่วงลับที่กำลังจะเดินทางไปได้ และ เมื่อหวีเสร็จแล้ว ให้ผู้หวีหักหวีออกเป็น 2 ท่อน พร้อมกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วให้โยนหวีนั้นทิ้งเสีย
บริษัทรับจัดงานศพ
รับจัดงานศพ
จัดงานศพ
ออแกไนซ์ งานศพ
บริษัทรับจัดงานศพ
รับจัดดอกไม้ งานศพ
หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการแต่งกายผู้ล่วงลับ ซึ่งขั้นตอนนี้ ผู้ทำพิธีอาจจะเลือกเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มที่ผู้ล่วงลับชอบสวมใส่ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ หรืออาจแต่งด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงทางที่จะสามารถดับทุกข์ และหนีทุกข์ สำหรับผู้ล่วงลับ อันเกี่ยวข้องกับการรักษาศีลและปฏิบัติธรรมของผู้ล่วงลับในช่วงเวลาที่ผ่านมา
 
 
 
ทั้งนี้ควรประพรมบริเวณใบหน้าและร่างกายของผู้ล่วงลับด้วยแป้งหอมหรือน้ำอบ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในการใส่เงินเข้าไปในปากของผู้ล่วงลับเพื่อมอบให้เป็นค่าเดินทางไปสู่เมืองสวรรค์ โดยทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นการสอนให้ผู้ล่วงลับรู้จักใช้เงินให้มีประโยชน์ แบ่งกิน แบ่งใช้และไม่ตระหนี่ถี่เหนียวจนเกินไปในชาติภพอื่นๆ
 
 
3. การรดน้ำศพ
การรดน้ำศพถือเป็นพิธีแรกที่เกิดขึ้นในพิธีศพ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและไว้อาลัยผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้ายของผู้คนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการขออโหสิกรรมจากความล่วงเกินต่างๆ ต่อผู้ล่วงลับในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่
 
 
 
โดยน้ำที่ใช้อาบศพนั้นจะต้องเป็นน้ำมนต์ผสมน้ำสะอาดหรือน้ำอบ ซึ่งมักจะโรยตกแต่งด้วยดอกไม้หอม โดยผู้ที่มาเคารพศพจะตักน้ำรดลงบนมือข้างหนึ่งของผู้ล่วงลับ พร้อมกล่าวคำอาลัย, คำระลึกถึง, คำอโหสิกรรมต่างๆ ขณะที่รดน้ำลงไป จากนั้นผู้จัดพิธีศพ ก็จะทำการบรรจุผู้ล่วงลับใส่โลงเพื่อทำพิธีสวดศพต่อไป
4. การสวดศพ
การสวดศพ เรียกเป็นภาษาทางการว่า พิธีสวดอภิธรรม เป็นพิธีที่จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงให้เห็นถึงความจริงและสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ และเป็นการระลึกถึงคุณความดีของผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย โดยผู้จัดพิธีจะนิมนต์พระเพื่อมาสวดบทอภิธรรม อันมีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิตให้กับผู้ล่วงลับ และเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ เกิดความเข้าใจถ่องแท้ของสังขารและความไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง
 
 โดยระยะเวลาในการสวดอภิธรรม ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้จัดงานว่าจะจัดกี่วัน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ที่ 3 วัน 5 วันและ 7 วัน 
 
 
นอกจากนี้การสวดศพยังเป็นพิธีสำคัญที่บรรดาญาติพี่น้องต่างๆ ของผู้ล่วงลับจะได้มารวมตัวกัน ทั้งนี้ด้วยความเชื่อที่ว่า การมารวมตัวกันของผู้คนที่เกี่ยวข้องจะทำให้ผู้ล่วงลับไม่เงียบเหงาวังเวง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เจ้าภาพหรือผู้จัดพิธีเกิดความรู้สึกผ่อนคลายจากความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
 
5. การฌาปนกิจ
 พิธีนี้จะอยู่ในช่วงท้ายสุดของพิธีศพและเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด  หากจัดพิธีศพ 7 วัน พิธีฌาปนกิจจะเกิดขึ้นในวันที่ 7 เป็นพิธีที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของชีวิตอย่างแท้จริง โดยจะเป็นวันสุดท้ายที่ร่างของผู้ล่วงลับจะเข้าสู่เชิงตะกอน
 
ทั้งนี้มีความเชื่อว่า  วันที่ไม่ควรทำพิธีฌาปนกิจนั้น ได้แก่ วันพระ, วันอังคารและวันเก้ากอง (คือวันที่คนโบราณกำหนดไว้ว่าเป็นวันไม่มงคล) 
 
ตามความเชื่อ จะจัดให้มีการบวชหน้าไฟในวันฌาปนกิจ (วันเผาศพ) เป็นการบวชสามเณรเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ การบวชหน้าไฟเป็นประเพณีความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะทำให้ผู้เสียชีวิตได้รับบุญเป็นอย่างมาก
 

รับจัดงานศพบ้านนา
รับจัดงานศพทองหลาง
รับจัดงานศพบางอ้อ
รับจัดงานศพบ้านนา
รับจัดงานศพบ้านพริก
รับจัดงานศพบ้านพร้าว
รับจัดงานศพป่าขะ
รับจัดงานศพพิกุลออก
รับจัดงานศพศรีกะอาง
รับจัดงานศพอาษา
รับจัดงานศพเขาเพิ่ม

STD Serve บริษัทรับจัดงานศพ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด

ร้านรับจัดงานศพ ออกแบบจัดงานศพภายนอก ภายใน ทุกรูปแบบ ทุกขนาด โดยทีมวิศวกรและช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ให้คำแนะนำ ร้านรับจัดงานศพ รับจัดงานศพ แบบครบวงจร จัดเมรุ ดอกไม้สด ออแกไนซ์ งานศพ จัดงานศพ บริษัท จัดงานศพ จัดดอกไม้ สดงานศพ จัดดอกไม้ งานศพ จัดสวน หน้าศพ พิธีจัด งานศพ จัดสวน หน้าหีบ รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

รู้จักเรา STD Serve บริษัทรับจัดงานศพ

– ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานบริษัทรับจัดงานศพ มากกว่า 20 ปี
– เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
– รับจัดงานศพ ทุกรูปแบบ
– ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
– ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
– บริการคุณภาพด้วย STD Serve บริษัทรับจัดงานศพ
กดโทรเลย