** การเตรียมสถานที่ ได้แก่ วัด ฌาปนกิจ โบสถ์ สุสาน
หากผู้เสียชีวิตต้องการทำพิธีทางศาสนาพุทธ ให้ติดต่อวัดที่ต้องการ และเตรียมข้าวของเครื่องใช้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม) หากผู้เสียชีวิตจะถูกฝังและยังไม่ได้ซื้อสุสาน ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ของสุสาน เพื่อเลือกซื้อหลุมฝังศพ หรือ แม้แต่ซื้อช่องสำหรับใส่โกศที่บรรจุเถ้ากระดูก (อัฐิ)
** เครื่องใช้ หรือ สิ่งของสำหรับงานศพ
สิ่งของที่ต้องเตรียมในงานศพ เช่น รูปผู้เสียชีวิต ดอกไม้งานศพ พวงหรีด โลงศพ โกศ ของที่ระลึก ของชำร่วยงานศพ แม้กระทั่งของว่าง หรือ อาหารงานศพ โดยเลือกและซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็นก่อน เพื่อช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย
** การจัดการมรดก
เรื่องพินัยกรรม ทรัพย์สินการเงิน และ การบริหารอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียชีวิตจะต้องเป็นไปตามลำดับ การจัดการมรดกเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนการประกาศการเสียชีวิตไปจนถึง
การยื่นขอสิทธิประโยชน์ภายหลังการเสียชีวิตเพื่อเปลี่ยนชื่อของสินทรัพย์ของผู้เสียชีวิตเป็นชื่อญาติพี่น้อง
หากมีผู้เสียชีวิต และคุณไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ลองเข้าไปดูรายการตาม แบบฟอร์มในการเตรียมงานศพ นะครับ เพราะว่าแบบฟอร์มนี้อาจจะช่วยให้คุณเรียบเรียงข้อมูลที่จำเป็นได้แบบไม่ตกหล่น แต่อย่างไรก็ตาม ในแบบฟอร์มที่เราเตรียมไว้ให้นี้ จะเป็นหัวข้อเรื่องรวมๆ ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะให้ความสำคัญในแต่ละหัวข้อไม่เหมือนกัน นอกจากนี้อย่าลืมเรื่องความคิดเห็นของญาติพี่น้อง หรือ ญาติผู้ใหญ่ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจในหลายๆด้าน ดังนั้นก่อนทำอะไรก็ควรสรุปและหาข้อตกลงร่วมกันก่อนที่จะดำเนินการนะครับ
วิธีการจัดงานศพ
การฝังศพ / การเผาศพ / การบริจาคร่างกาย
ประเภทของพิธี
ผู้เสียชีวิตเลือกบริจาคร่างกายให้กับโรงพยาบาล ก็อาจจะแจ้งคนในครอบครัว จัดพิธีส่วนตัวเฉพาะญาติ และคนสนิท
จัดงานศพตามพิธีทางศาสนา
ของใช้ระหว่างการประกอบพิธีทางศาสนา ตัวอย่าง เช่น
ของใช้ที่ต้องเตรียมสำหรับการเคลื่อนย้ายไปที่วัด
1. กระถางธูป พร้อมผงธูป หรือ ทรายแก้ว
2. รูปภาพที่จะตั้งหน้าศพ ผ้าคลุมศพ เสื้อผ้าผู้ตาย
3. ธูปพิธี ( ธูปยาว ) ธูป (ยาวธรรมดา ) เทียนเหลือง ไหว้พระ เทียนขาว ไหว้ศพ ดอกไม้ มาลัย
( ควรไหว้ ศาลพระภูมิ ของโรงพยาบาลด้วย ) ถ้าเสียที่บ้าน ไหว้เจ้าที่ที่บ้านด้วย
4. สายสิญจน์
5. ตะเกียงนำทาง (ตะเกียงโป๊ะ ) พร้อมน้ำมันก๊าซ
6. สังฆทาน ถวายพระภิกษุ
7. ญาติๆจัดเตรียมเสื้อผ้า ชุดดำ-ขาว
ของใช้ที่ต้องเตรียมเมื่อถึงที่วัด
1. ด้ายแดง ไหมแดง
2. ลูกอม เช่น ฮอลล์ โอเล่ย์ ฮาร์ทบีท
3. ซองซิป (แบบซองใส่ยา )
4. ซองขาวเป็นปึกๆ
5. ธูป สำหรับไหว้พระ
6. ธูป สำหรับ เคารพศพ
7. ธูป พิธี เป็นธูปยาว ต่อไว้ อย่าให้ดับ
8. เทียนเหลือง ไหว้พระ
9. เทียนขาว จุดหน้าศพ
10. เตรียมการของชำร่วย เนื่องจาก ของบางอย่าง ต้องใช้เวลาเตรียมแต่เนิ่นๆ หรือ ต้องสั่งตัดสติ๊กเกอร์แปะ
11. อาหาร – เครื่องดื่ม รับแขก รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียน จำเป็นมาก แต่มักลืมกัน เช่น ปากกา ดินสอ คัตเตอร์ กรรไกร สก๊อตเทป กาว สมุดจด
12. จัดเตรียม เหรียญโปรยทานงานศพ , ซองใส่เงินไว้ จำนวนหนึ่ง เป็นสินน้ำใจเล็กน้อย ให้คนส่งพวงหรีด หรือ เจ้าหน้าที่วัดที่มาช่วยงาน
13. จดรายการ ของที่จะทำบุญ ในคืนสวดต่างๆ เช่น สังฆทาน ผ้าไตร หรือ กระดาษไหว้ต่างๆ แบบคนจีน
14. จดรายการ ของที่จะเตรียม ในพิธีเผา เช่น ดอกไม้จันทน์ มีทั้ง ช่อเชิญ ช่อประธาน และ ช่อเล็กๆ ของแขกที่มาร่วมงาน
ของชำร่วยต่างๆ หรือ ถ้ามีการบวชหน้าไฟ ต้องเตรียมชุดบวช
15. หลังพิธีแล้ว ก็จะมีการเก็บอัฐิ เตรียม ผ้าขาว น้ำอบ ดอกไม้สด โกศ ลุ้งลอยอังคาร
เงินที่ใช้จัดพิธีศพ
เงินเก็บ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์
เงินประกัน
เงินกู้
การเตรียมจัดงานศพเมื่อระยะเวลาใกล้เข้ามา
หากความตายเกิดขึ้นแล้วและคุณไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ให้ดูรายการตาม แบบฟอร์มในการเตรียมงานศพ ซึ่งจะช่วยให้คุณเรียบเรียงข้อมูลที่จำเป็นได้
หากเพื่อนหรือคนที่คุณรักป่วยหนักและคาดว่าจะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ ให้พิจารณาเตรียมจัดงานศพล่วงหน้า
การเตรียมงานศพล่วงหน้าจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมและสำรวจตัวเลือกต่างๆทั้งหมดได้ และก็มีแนวโน้มที่จะข่วยประหยัดเงินของคุณ
ติดต่อผู้ให้บริการรับจัดงานศพ หรือ จะดำเนินการเองก็ได้ โดยติดต่อสถานที่ และข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น
เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ต้องทำอย่างไรบ้าง
ถ้ากรณีเสียชีวิตในโรงพยาบาล แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยก่อนจะเสียชีวิตจะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการตายให้ไว้กับญาติเป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบในการแจ้งตาย (ขอใบมรณบัตร) โดยบุคคลที่มีหน้าที่ในการแจ้งตายในกรณีนี้ได้แก่ โรงพยาบาลซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าบ้าน หรือ ญาติไปดำเนินการแจ้งการตายแทน โดยระยะเวลาในการแจ้งตาย จะต้องทำการแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาที่เสียชีวิต โดยให้แจ้งยังเขตท้องที่นั้นๆ โดยมีหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการตาย
บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย (ถ้ามี)
หนังสือรับรองการตาย (ทร ๔/๑) ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลออกให้
สำเนาทะเบียนบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
เมื่อมีคนเสียชีวิตที่บ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง
ถ้ามีคนเสียชีวิตในบ้าน อย่าพึ่งเคลื่อนย้ายศพ สิ่งที่ต้องทำ คือ ติดต่อยังบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านที่มีการเสียชีวิต ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย แต่หากไม่มีเจ้าบ้าน ก็ให้ผู้พบศพเป็นคนแจ้งตาย (เจ้าบ้านสามารถมอบหมายคนอื่นแทนได้) การแจ้งตายกรณีนี้จะต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ โดยให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ เพื่อขอใบรับแจ้งความ/บันทึกประจำวัน และประสานงานไปทางโรงพยาบาลเพื่อให้มาชัณสูตร (รับรองสาเหตุของการตาย) และนำใบรับแจ้งความที่ได้ไปติดต่อสำนักงานเขตเพื่อออกใบมรณบัตร
– ในท้องที่อำเภอต่างจังหวัด ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านจะออกหลักฐานรับการแจ้งตาย (ทร 4 ตอนหน้า) ให้แล้วค่อยเอาเอกสารนี้ไปแจ้งนายทะเบียนที่เทศบาลเพื่อขอให้ออกใบมรณบัตรอีกครั้ง