การดูแลผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต
การที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นนั้น ต้องการศัยการดูแล และเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นพิเศษ โดยการดูแลผู้สูงอายุด้านจิตใจสามารถทำได้ดังนี้การช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เช่นการไปขอคำแนะนำ และคำปรึกษา ขอความช่วยเหลือให้ดูแลควบคุมภายในบ้าน ปรึกษาเรื่องการเลี้ยงดูบุตรหลาน
หรือการกล่าวชื่นชม เล่าเหตุการณ์ประทับใจต่อผู้สูงอายุ
ระมัดระวังคำพูด และการกระทำต่อผู้สูงอายุ เช่นการกล่าวทักทาย สวัสดี เชิญรัปประทานอาหารก่อน
หากิจกรรมทำร่วมกัน เช่นการ ไปวัดทำบุญ โดยลูกหลานช่วยเตรียมของให้ พาไปเที่ยวเปิดหูเปิดตา หรือไปทานอะไรอร่อย ๆ
อุปกรณ์ที่ช่วยดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุ ต้องมีความเอาใจใส่ ทุ่มเท และอดทน เสียสละเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ต้องดูแลอาการป่วยให้หายดี แต่ยังต้องดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย ทำให้ผู้ดูแลมีอาการเหนื่อยล้าเป็นธรรมดา อุปกรณ์เสริมจึงเป็นตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดูผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัย และช่วยผ่อนแรงของผู้ดูแลได้
ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 1-2
ต้องการความช่วยเหลือในบางส่วน เช่น การเดิน และการขับถ่ายอุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก : เตียงนอนที่มีราวข้างเตียง และสามารถปรับระดับได้ หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รถเข็นผู้ป่วย กระโถนสำหรับผู้ป่วย รถเข็นอาบน้ำและนั่งถ่าย กระบอกใส่ปัสสาวะ
การดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายคนมักจะให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย แต่มองข้ามเรื่องจิตใจของผู้สูงอายุไป ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่ดี ควรจะดูแลร่างกายควบคู่่ไปกับจิตใจด้วย เพราะจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมกับมีจิตใจที่มีความสุขนะคะ
ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งวิกฤติเศรษฐกิจรุนแรง การป้องกันดูจะเป็นยาขนานเอกที่ได้ผลเกินคาด เพราะสุขภาพดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
ข้อแนะนำจาก อ.นพ.สมบูรณ์ อินทลาภาพร ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ได้เขียนบรรยายไว้อย่างน่าสนใจว่า
1.เลือกอาหาร วัยนี้ร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
2.ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัวแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อยๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อยๆ ลดลงช้าๆ และค่อยๆ หยุด เพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว
3.สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ๆ สถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้
4.หลีกเลี่ยงอบายมุข ได้แก่ บุหรี่และสุรา จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังช่วยป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ อาชญากรรมต่างๆ อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้
5.ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม
6.ควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วน โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว ลดปัญหาการหกล้ม และความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
7.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้ เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาหรือผลข้างเคียงอาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด
8.หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว แผลเรื้อรัง มีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก ท้องอืดเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้าอย่างนี้ล่ะก็พามาพบแพทย์ดีที่สุด
9.ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย