บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้
-ต้องมีใจรักในอาชีพ เพราะเป็นงานที่ต้องมีความเสียสละเพื่อผู้อื่น
-มีการใฝ่หาความรู้รอบตัวอยู่เสมอ
-มีวาทศิลป์ในการพูด
-ต้องเป็นคนซื่อตรง
-มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม
-ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศิลธรรมอันดี
-ไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
-ชอบท่องจำ เพราะกฎหมายมีมาตรต่าง ๆ มากมายที่ต้องนำไปใช้ในการทำคดีความ
-ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วมสำนักงาน และตนเอง
3. คุณค่าและผลตอบแทน
ผลตอบแทน
อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีคนนิยมทำกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดี และเป็นอาชีพที่มีเกียรติ โดยผู้ที่เป็นทนายความสามารถทำงานมีเงินเดือนประจำ โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 – 30,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน และจะสามารถได้รับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นเมื่อได้รับใบอนุญาติการเป็นทนายความ หรือประกอบอาชีพทนายความอิสระรับว่าความทั่วไป โดยอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความ ร้อยละ 10 – 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้น ๆ หรืออาจจะได้รับค่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกับลูกความ ซึ่งอาจจะได้รับค่าว่าความ 20,000-100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับ และขนาดของทุน-ทรัพย์ในแต่ละคดี
คุณค่าของอาชีพนี้ต่อคนรอบข้างและสังคม
ในสังคมปัจจุบันมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมายอยู่ตลอดเวลา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้ ก็ต้องมีคนกลางเข้ามาเพื่อให้เรื่องราวนั้น ๆ คลี่คลายไปได้ด้วยดีโดยมีหลักเกณฑ์เดียวกันคือเรื่องของกฎหมายและความยุติธรรม โดยเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นอาจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ของสังคม การทำงานของทนายความไม่ต่างจากหมอ คือมีหน้าที่ช่วยเหลือคนในสังคมที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่มีความรู้ ความสามารถ จึงต้องมีทนายมาช่วยให้บุคคลนั้น ๆ ได้รับความยุติธรรมมากที่สุดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
4. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ
มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติ-ธรรม และต้องชอบที่จะท่องจำ เพราะวิชานิติศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องท่องจำมาก เช่น กฎระเบียบ มาตราต่าง ๆ เป็นต้น
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือก หรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาซึ่ง สภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความ โดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร 6 เดือน และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6 เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอ ใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ
มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ประมวลกฎหมายทั้งหมด รู้ว่าเราต้องใช้กฎหมายไหนมารองรับการกระทำของลูกความ หรือโต้แย้งกับฝั่งตรงข้าม มีสติและการรับมือกับสถาณการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
5. เครื่องมือที่ใช้ในอาชีพนั้น
หนังสือประมวลกฎหมาย เป็นสิ่งที่ทนายความมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านและศึกษาให้ละเอียดเพราะเป็นสิ่งที่ใช้ประกอบการทำงาน ในหนังสือนั้นจะประกอบด้วยกฎหมายที่แบ่งเป็นมาตราต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องจำให้แม่นเพราะเมื่อเราอยู่ชั้นศาลแล้วจะต้องยกกฎหมายเหล่านั้นมาต่อสู้คดีความ ทนายความบางคนสามารถจำได้ทุกย่อหน้าและเว้นวรรค เพื่อไม่ให้มีช่องว่างทางกฎหมายที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถนำโอกาสนี้มาเอาเปรียบเราได้
1.คดีแพ่ง
คดีกู้ยืมเงิน
ห้างหุ้นส่วน/บริษัท
ค้ำประกัน
คดีเกี่ยวกับสัญญา
ขับไล่
คดีบังคับจำนอง
คดีล้มละลาย
คดีแรงงาน
คดีภาษีอากร
คดีเกี่ยวกับการมรดก
2. คดีอาญา
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการ
ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีอาญา
ความผิดฐานปล้นทรัพย์
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ความผิดฐานลักทรัพย์
คดีหมิ่นประมาท
คดีโกงเจ้าหนี้
คดียักยอกทรัพย์
คดีฉ้อโกงทรัพย์
คดีความผิดต่อชีวิต
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
คดียาเสพติดให้โทษ
3. คดีล้มละลาย
กรณีที่ต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
วิธีพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทัน
การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ธรรมดา
การขอรับชำระหนี้ คดีฟื้นฟูกิจการ
เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การขอฟื้นฟูกิจการ
4. คดีแรงงาน
ความปลอดภัยในการทำงาน
การจ่ายค่าชดเชย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
วันลาของลูกจ้าง
ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
วันและเวลาทำงาน
วันหยุดงาน
เงินประกันเข้าทำงาน
การจ้างแรงงานหญิง
การจ้างแรงงานเด็ก