1. บ้านหรืออาคารสูงเกิน 50 เมตร ซึ่งระยะห่างจากอาคารหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคารนั้น
2. บ้านหรืออาคารอยู่ห่างอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตร
ยกตัวอย่าง บ้านของคุณสูงเกิน 15 เมตร โดยบริเวณนั้นก็มีอาคารอื่น ๆ หรือชุมชนล้อมรอบ มีระยะห่างไม่ถึง 15 เมตร เจ้าบ้านก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตรื้อบ้าน เป็นต้น
ทั้งนี้ยังมีกรณีซ่อมแซมหรือต่อเติมเล็ก ๆ น้อย ๆ บางกรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาต โดยเจ้าบ้านลงมือทำได้ทันทีตามสมควร ไม้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อน กรณีดังกล่าวอ้างอิงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 พ.ศ. 2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แก่
1. การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน ซึ่งหมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต
2. การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต
3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นวัสดุที่แตกต่างจากเดิม ต้องขออนุญาต
4. การเปลี่ยนส่วนใด ๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ ภายในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต
5. การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร และไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต
ถ้าพิจารณาจากข้อยกเว้น 5 ข้อแล้ว จะเห็นว่า การต่อเติมส่วนใหญ่ที่เรา ๆ ทำกันอยู่ ล้วนต้องขออนุญาต เพราะพื้นที่ที่เราต่อเติม ส่วนใหญ่จะเกินกว่า 5 ตารางเมตร
รื้อบ้าน-รื้อถอนอาคาร ให้ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร
เมื่อพิจารณาแล้วว่าบ้านหรืออาคารของเราจำเป็นต้องรื้อถอนออก เจ้าบ้านควรยื่นเรื่องขอรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายมีข้อปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้
ขั้นเตรียมการก่อนรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร
ผู้ยื่นขออนุญาตจำเป็นต้องเตรียมเอกสาร เพื่อขอยื่นคำอนุญาตที่สำนักงานเขตหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลพื้นที่ที่จะทำการรื้อถอนบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
1. แบบบ้าน ประกอบด้วย
– แบบแปลนทุกชั้น
– รูปด้าน จำนวน 2 รูป
– รูปตัด 2 รูป
– รายการประกอบแบบ (ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการรื้อถอน วัสดุที่ใช้ โดยลงรายละเอียดให้ครบถ้วนตามหลักการรื้อถอนอาคาร)
2. คำร้อง ข.1
3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นขออนุญาต
4.ใบยินยอมที่ดิน (ใช้ยื่นกรณีที่ผู้ยื่นขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่นั้น)
5. บัตรทะเบียนบ้านเจ้าของที่ดิน
6. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินเท่าฉบับจริง
7. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรและสถาปนิก
– หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองวิศวกรและสถาปนิก
– สำเนาใบประกอบวิชาชีพของวิศวกรและสถาปนิก
– หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองผู้ควบคุมงานของวิศวกรและสถาปนิก
– สำเนาใบอนุญาตของผู้ประกอบวิชาชีพ
8. เอกสารอื่น ๆ
– การแสดงระบบบำบัดน้ำเสีย
– รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย
*กรณีที่การรื้อถอนอาคารนั้นเป็นที่ทำการของโรงงานอุตสาหกรรม ตลาดสด ร้านอาหาร ห้องพัก โรงพยาบาล
ขั้นยื่นคำร้องขอรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร
เมื่อเตรียมเอกสารสำหรับยื่นอนุญาตครบถ้วนแล้วนั้น ก็ทำเรื่องกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที โดยผู้ยื่นขออนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคำร้อง รวมทั้งรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เพื่อออกใบอนุญาตรื้อถอนอาคารให้แก่ผู้ขอยื่นอนุญาตต่อไป